ลักษณะบ่งเฉพาะของ “เครื่องหมายคำ”

sale-TradeMark.png

 

ลักษณะบ่งเฉพาะของ “เครื่องหมายคำ”  ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายคำ ได้แก่

  1. คำประดิษฐ์
  2. ถ้าเป็นคำที่มีความหมาย หรือคำแปล

                        จะต้องไม่เป็นคำหรือข้อความที่ไม่มีความหมายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

                        ต้องไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด

                        ถ้าเป็นชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา หรือชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมาย หรือชื่อทางการค้า จะต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

 

  1. 1.               คำประดิษฐ์ 

        หมายถึง คำที่มีความหมายหรือคำแปลตามพจนานุกรม เครื่องหมายคำที่จะนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ จะเป็นคำในภาษาใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด  คำประดิษฐ์นั้นในสายตาของนายทะเบียนแล้วเห็นว่า จัดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ดีที่สุดประเภทหนึ่ง เพราะโอกาสที่จะไปเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลได้ยาก

คำประดิษฐ์ที่จะนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์ตัวหนังสือก็ได้  หลาย ๆ ท่านยังมีความเข้าใจว่า เครื่องหมายคำที่จะนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า จะต้องประดิษฐ์ตัวอักษรที่นำประกอบเป็นเครื่องหมายคำด้วย 

OTOP Trademark 

ความเข้าใจเช่นนี้ถือว่ายังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะเครื่องหมายคำที่จะต้องประดิษฐ์ตัวอักษรมีเพียงประเภทเดียวคือ การนำชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคล หรือชื่อทางการค้าเท่านั้น ที่เมื่อเวลานำไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษ  การประดิษฐ์ตัวอักษรของเครื่องหมายคำถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการแสดงโดยลักษณะพิเศษ ตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ

ข้อสังเกต

                1. การเอาคำที่มีความหมายสองคำมารวมกัน อาจสื่อความหมายถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนได้ ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

                 คำพิพากษาฎีกาที่ 608/2545 โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า  JAVACAFE สำหรับสินค้าจำพวกที่ 30 รายการสินค้า กาแฟ เมล็ดต้นโกโก้ ฯ  เป็นสาระสำคัญและแปลความหมายตามพจนานุกรมไม่ได้  คำว่า JAVACAFE แม้จะเขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน แต่สามารถแยกออกจากกันและแปลความหมายได้ 

คำว่า JAVA หมายถึงชื่อเกาะในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งประชาชนทั่วไปรู้จักดี  จึงเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ  ส่วนคำว่า CAFÉ หมายถึง กาแฟ หรือภัตตาคารขนาดเล็ก จึงเป็นคำสามัญ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเช่นเดียวกัน เมื่อนำคำ 2 คำ  ดังกล่าวมาเขียนติดกันเป็น JAVACAFE จะเห็นได้ว่า ทั้งตัวอักษรโรมันและสำเนียงเรียกขานยังคงเดิม

แม้จะแปลไม่ได้ ก็สามารถสื่อความหมายให้คนทั่วไปเข้าใจว่าหมายถึงกาแฟที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะชวาในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  จึงเป็นการสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายเล็งถึงลักษณะและแหล่งกำเนิดของสินค้านั้นโดยตรง จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534

                 2.คำที่นำคำสองคำมารวมกันโดยเขียนติดกัน แม้จะแปลไม่ได้ตามพจนานุกรม แต่หากเมื่อแยกแปลคำดังกล่าวสามารถแปลได้ และคำบางคำแปลสื่อถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงแล้ว จะต้องสละสิทธิดังกล่าว เช่น

Trademark motor   

เครื่องหมายคำนี้ ใช้สำหรับสินค้าจำพวก12 รายการสินค้า มอเตอร์กระแสสลับ มอเตอร์กระแสตรง  เมื่อเขียนรวมกัน จะแปลไมได้  แต่คำว่า oriental เมื่อแยกแปล จะได้คำว่า เกี่ยวกับหรือเป็นลักษณะของประเทศในบูรพาทิศ ส่วนคำว่า motor แปลว่า มอเตอร์  ฉะนั้น คำว่า motor เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง จึงต้องสละสิทธิคำว่า motor  (คำขอเลขที่ 632067)

3.คำที่เขียนขึ้นโดยเจตนาใช้ตัวอักษรสะกดคำ ผิดจากหลักไวยากรณ์ หากพิจารณาสำเนียงเรียกขานแล้ว สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำที่มีความหมาย หากความหมายดังกล่าวเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

เช่น คำว่า ZUPER  ซึ่งมีเสียงเรียกขานตรงกับคำว่า SUPER แปลว่า ดีที่สุด เป็นต้น   กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์   ตัวอย่าง 

                เครื่องหมายบริการคำว่า SALON CONEXXION รายนี้ คำว่า SALON แปลว่า ห้องโถง ร้านแฟชั่น คำว่า conexxion เป็นคำที่เขียนแผลงมาจากคำว่า CONNECTION  แปลว่า การเชื่อมต่อ ความเกี่ยวพัน ความสัมพันธ์ รวมกันแปลได้ว่าที่ที่ใช้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับร้านแฟชั่น  เมื่อนำมาใช้กับบริการจำพวกที่ 42 รายการบริการ บริการด้านสุขอนามัย บริการด้านความงาม  ทำให้เข้าใจได้ว่า บริการภายใต้เครื่องหมายบริการนี้เป็นการบริการด้านความงามในร้านแฟชั่น  นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของการบริการโดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรค 2(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ฯ ที่ 747/2548)

2. คำที่มีความหมายหรือคำแปล

                2.1 .จะต้องไม่เป็นคำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

                เครื่องหมายคำหรือข้อความที่มีความหมายหรือคำแปลที่จะนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญก็คือ จะต้องไม่เป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายหรือแปลได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายคำหรือข้อความนั้น เป็นสินค้าที่ลักษณะของสินค้าหรือการบริการ หรือคุณสมบัติของสินค้าหรือการบริการนั้น ๆ   หรือที่กฎหมายเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า คำหรือข้อความนั้นจะต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

                – คำว่า เล็งถึงลักษณะของสินค้า หมายถึงการสื่อความหมายหรือบรรยายถึงรูปร่างลักษณะของสินค้า

                – คำว่า เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้า หมายถึงการแสดงถึงสรรพคุณ คุณสมบัติที่ดีหรือไม่ดี หรือการใช้งานของสินค้า

ตัวอย่างเช่น

(ก) เครื่องหมายการค้า คำว่า ซาร์ดีน  ใช้กับสินค้า ปลากระป๋อง คำว่า ซาร์ดีน เป็นชื่อพันธุ์ปลาชนิดหนึ่ง เมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้ากับสินค้าปลากระป๋อง นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงหรือมีความหมายได้ว่า ปลากระป๋องนั้นทำมาจากปลาซาร์ดีน นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรงว่าเป็นสินค้าปลากระป๋องที่ทำมาจากปลาซาร์ดีน เครื่องหมายการค้านี้จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

 (ข) เครื่องหมายการค้า คำว่า แข็งแรง  ใช้กับสินค้า เก้าอี้ เป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ  เพราะเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าเก้าอี้โดยตรงว่า เป็นเก้าอี้ที่มีความแข็งแรง ทนทาน  ตัวอย่าง

เครื่องหมายการค้าคำว่า Premium SELECTION รายนี้ แปลได้ว่า ผลิตภัณฑ์

ยอดเยี่ยมที่ได้เลือกสรรมาแล้ว เมื่อนำมาใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 29 รายการสินค้าได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ปีก ฯ นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงและไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 (คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ฯ ที่ 1573/2539)

 

ข้อสังเกต               

  1. คำหรือข้อความที่มีความหมายหรือคำแปลให้รวมทั้งคำที่เขียนขึ้นตามสำเนียงเรียกขานของคำในภาษาอื่น หรือที่เรียกว่าคำทับศัพท์ ที่มีความหมายหรือคำแปลด้วย

ตัวอย่าง

                เครื่องหมายบริการคำว่า วัยทอง เพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 42 รายการบริการคลินิคแพทย์นั้น คณะกรรมการ ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า คำว่า วัยทอง หมายถึง บุคคลที่มีอายุสูง ซึ่งในวงการแพทย์ถือว่าเป็นบุคคลที่ต้องสนใจในสุขภาพเป็นพิเศษ และจากหลักฐานตามที่ปรากฏในคำขอเห็นว่าคำนี้เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์ทั่วไปและเปิดสอนเป็นวิชาหนึ่งให้กับนักศึกษาแพทย์ เมื่อนำมาใช้กับบริการตามที่ยื่นคำขอจดทะเบียน นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของบริการโดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 (คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ฯ ที่ 2559/2542 )

         2. ความหมายของคำหรือข้อความจะต้องไม่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง คำว่าเล็งถึงลักษณะของสินค้าหมายถึง การสื่อความหมายหรือบรรยายถึงรูปลักษณะของสินค้า

ตัวอย่าง    TIME  WALKER

 เครื่องหมายรายนี้ คำว่า TIME แปลว่า เวลา คำว่า WALKER แปลว่า การเดิน ผู้เดิน ผู้ชอบเดิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก นาฬิกาแขวน นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะสินค้าโดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2)  (คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ฯ ที่ 671/2547)

ตัวอย่าง   สบาย

คณะกรรมการ ฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องหมายบริการคำว่า สบาย รายนี้ นับว่าเป็นคำพรรณนาที่ใช้กันทั่วไป ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ นอกจากนั้นคำว่า สบาย ยังแปลว่า อยู่ดีกินดี สุขกาย สุขใจ มักใช้เข้าคู่กับคำว่า สะดวก เมื่อนำมาใช้กับบริการจำพวกที่ 36 รายการบริการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการด้านสินเชื่อ การให้บริการบัตรเครดิต ฯ ทำให้เข้าใจว่าบริการภายใต้เครื่องหมายบริการนี้ สามารถให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้าได้ นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของการบริการโดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรค 2 (2) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน (คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ฯ ที่ 747/2548)

3.  ความหมายของคำหรือข้อความไม่ได้เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง คำว่าเล็งถึงคุณสมบัติของสินค้า หมายถึง การแสดงถึงสรรพคุณหรือการใช้งานของสินค้า

4. ถ้าเป็นคำหรือข้อความที่เขียนขึ้นโดยเจตนาใช้ตัวอักษรสะกดคำที่ผิดหลักไวยากรณ์ หากพิจารณาสำเนียงเรียกขานแล้ว สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ว่า เป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายแล้ว  ความหมายดังกล่าวนั้นจะต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

5. ถ้าเป็นคำหรือข้อความที่เขียนขึ้นโดยการนำคำที่มีความหมายตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน ความหมายของคำดังกล่าวต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง


Thai Trademark  ให้บริการด้าน จดเครื่องหมายการค้า  จดลิขสิทธิ์ ปรึกษา ตรวจสอบ

รับจดเครื่องหมายการค้า  บริการทั่วประเทศ 

ต้องการใบเสนอราคา info.ThaiTradeMark@Gmail.com

 

error: Content is protected !!