เพราะปัจจุบันมีการนำภาพของบุคคลอื่นไปใช้ เมื่อตรวจพบทำให้ต้องตรวจสอบว่าใครคือเจ้าของผลงานนั้น การที่เจ้าของจดลิขสิทธิ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายว่าใครคือเจ้าของงานลิขสิทธิ์
ประโยชน์ที่ได้รับหากแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
1. เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินและการทำธุรกรรมต่างๆ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558
2. เป็นฐานข้อมูลลิขสิทธิ์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการสืบหาเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3.เป็นหลักฐานเบื้องต้นแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสิทธิ์ที่แท้จริงต่อไป
งานลิขสิทธิ์หลังจากยื่นแจ้งจะได้รับ หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ภายใน 30-60 วัน ซึ่งจะได้รับการคุ้มครอง เร็วกว่าเครื่องหมายการค้า ซึ่งเครื่องหมายการค้าจะใช้เวลาในการพิจารณา 8-12 เดือน และ ประโยชน์ของการจดลิขสิทธิ์ เมื่อจดทะเบียนแล้วจะคุ้มครองไปยังประเทศอื่นที่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีกันโดยอัตโนมัติ รวม 166 ประเทศ
Thai Trademark ให้บริการด้าน จดเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ ปรึกษา ตรวจสอบ
รับจดเครื่องหมายการค้า บริการทั่วประเทศ
ต้องการใบเสนอราคา info.ThaiTradeMark@Gmail.com
ต้องการ จดลิขสิทธิ์ ติดต่อเรา ผ่านทาง Line
ต้องการใบเสนอราคา info.ThaiTradeMark@Gmail.com
เราให้บริการ จดเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ มากว่า 15 ปี
งานลิขสิทธิ์มี 9 ประเภท ประกอบด้วยประเภทงานต่างๆ ดังนี้
- งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
- งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
- งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศหรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
- งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
- งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสที่บันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก เป็นต้น
- งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
- งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเสียงทั้งนี้ ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุ หรือการแพร่เสียงหรือภาพทางสถานีโทรทัศน์
- งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ของตนได้ เช่น ทำซ้ำ คือการคัดเลือก ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ ฯลฯ จากต้นฉบับหรือสำเนา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การแสดง การบรรยาย การจำหน่าย การทำให้ปรากฏด้วยเสียงด้วยภาพ ฯลฯ จากงานที่ได้จัดทำขึ้น เป็นต้น
สิ่งที่ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไม่ได้
1. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
2. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
3. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
4. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
5. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
6. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตามข้อ 2-5 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานใดของรัฐหรือของท้องถิ่นที่จัดทำขึ้น
เรื่องที่ควรรู้เรื่องการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เป็นการรับรองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นการจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าตนเองเป็นเจ้าของในงานลิขสิทธิ์ที่ได้
เหตุใดหนังสือรับรอง มีหมายเหตุว่า “เอกสารนี้ไม่ได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์”
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2547 โดยออกระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เพื่อระบุสถานะของหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน
ซึ่งเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนว่า มีผู้นำหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ซึ่งออกตามระเบียบดังกล่าว ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือในทางไม่สุจริต เช่น นำไปอ้างว่า เป็นเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ต้องยอมจ่ายเงินเป็นค่ายอมความในอัตราที่สูง เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดี
วัตถุประสงค์ของการรับแจ้งข้อมูลภายใต้ระเบียบดังกล่าวเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลผลงานลิขสิทธิ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ที่สมัครใจ สามารถแจ้งข้อมูลไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประโยชน์ให้ผู้สนใจสามารถติดต่อขออนุญาตใช้งานลิขสิทธิ์ๆได้โดยสะดวก และออกหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้ เพื่อให้ผู้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินตามโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนของรัฐบาล
โดยที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องนำงานลิขสิทธิ์มาจดทะเบียน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงไม่มีอำนาจและฐานข้อมูลในการตรวจสอบจนเป็นที่ยุติและมีผลทางกฎหมายว่างานใดมีลิขสิทธิ์และผู้ใดเป็นเจ้าของ ผู้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงต้องมีหนังสือรับรองสิทธิ์ของตนเองและยอมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นหากปรากฏในภายหลังว่าผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มาแจ้งข้อมูล จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยสุจริต และพร้อมแสดงหลักฐานอื่นๆ เพื่อพิสูจน์หลักฐานต่อศาลเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น
ระเบียบฉบับใหม่กำหนดให้ระบุสถานะของหนังสือรับรอง ตามแบบ รลข 01 และแบบ รลข 02 เป็นหมายเหตุว่า “เอกสารนี้ไม่ได้รับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์” เพื่อให้ผู้ประกอบการและบุคคลภายนอกเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิทางกฎหมายและผู้มีหนังสือรับรองดังกล่าวมิได้มีสิทธิดีกว่าผู้ที่มิได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการนำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลงานลิขสิทธิ์มาจำหน่าย ควรรับสินค้าจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ หรือผู้ผลิตที่สามารถออกเอกสารรับรองได้ว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว หรือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด และยอมรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น
Cr. กรมทรัพย์สินทางปัญญา
1 thought on “ประโยชน์ของการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์”
Comments are closed.