อยากขาย แฟรนไชส์ชานมไข่มุก จดเครื่องหมายการค้าอย่างไรให้ผ่าน

sale-TradeMark.png

 

ปัจจุบันกระแสเครื่องดื่มมาแรงมาก มีการสร้างไอเดียใหม่ๆ ให้สินค้า ออกแบบและปรุงแต่งให้เครื่องดื่มดูน่าทาน เพื่อนำมาเป็นจุดขาย หลังจากธุรกิจเริ่มประสบความสำเร็จก็จะมีการต่อยอดด้วยการขยายสาขา ทั้งในรูปแบบเจ้าของขยายสาขาเองหรือเปิดขายแฟรนไชส์

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/pg/chamichi.thailand

การขยายสาขานั้น ส่วนใหญ่เจ้าของเลือกที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ เพราะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วกว่า และครอบคลุมโดยไม่ต้องออกไปหาทำเลเอง เพราะคนที่สนใจซื้อมักจะเป็นคนพื้นที่คุ้นเคยกับทำเลนั้นอยู่แล้ว

ชานมไข่มุก เครื่องดื่มที่นิยมกันอย่างแพร่หลายดื่มได้ทุกเพศทุกวัย เป็นอีกธุรกิจเครื่องดื่มที่นิยมซื้อแฟรนไชส์หรือเปิดขายแฟรนไชส์กันเยอะมาก การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในธุรกิจนี้จะมี 3 รายการคือ

จำพวก 30 ชา  ชานมไข่มุก และ

จำพวก 43 บริการอาหารและเครื่องดื่ม

ขั้นตอนการยื่นจดเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การตรวจเครื่องหมายการค้าจะยุ่งยากกว่าเพราะมีเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายเรื่อง เช่น เครื่องหมายต้องไม่ขัดหลักกฎหมาย ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ และต้องไม่คล้ายกับของผู้อื่นที่จดไว้แล้ว ฯลฯ  ลองมาดูตัวอย่างของเครื่องหมายที่จดไม่ผ่านกัน ว่าเพราะอะไรถึงจดไม่ได้ และ ประเด็นที่ควรรู้คือการตรวจไม่ได้ตรวจเหมือนค้นหาคำใน Google ที่ไม่เจอคือไม่มี

ตัวอย่าง เครื่องหมายการค้า CHAKUMA   “ชาคุมะ” วันที่ยื่นคำขอ 03/08/2558  รายการสินค้าจดทะเบียน คือ จำพวก 30 ชา

นายทะเบียนได้มีคำสั่งออกมาว่า เครื่องหมายการค้า CHAKUMA นี้ ไม่รับจดทะเบียนเพราะชื่อคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว คือ  เครื่องหมายการค้า KUMA, คุมะ  และ  เครื่องหมายการค้า คุมะ  ซึ่งทั้งสองเครื่องหมาย คือเจ้าของคนเดียวกัน

เครื่องหมายการค้า KUMA, คุมะ  วันที่ยื่นคำขอ 11/06/2556  จำพวก 30 ชา กาแฟ โกโก้

เครื่องหมายการค้า คุมะ วันที่ยื่นคำขอ 11/06/2556  จำพวก 30 ชา กาแฟ โกโก้


หลายคนอาจสงสัยชื่อก็ไม่เหมือนกัน โลโก้ ก็ไม่เหมือนกันเลย ทำไมถึงจดเครื่องหมายการค้าไม่ได้  หรือทำไมไม่รับจดทะเบียน

เครื่องหมายการค้ามีหลักเกณฑ์คร่าวๆ ในการพิจารณาเบื้องต้นดังนี้

1.ชื่อจะต้องไม่เหมือนหรือคล้าย

2.โลโก้ต้องไม่เหมือนหรือคล้าย และ

3.ภาพรวมของโลโก้ก็ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายเช่นกัน

จากตัวอย่าง เครื่องหมายการค้า CHAKUMA  “ชาคุมะ”  แม้จะเขียนติดกัน แต่หากดูที่รายการสินค้าที่ยื่นจดทะเบียนไว้คือ ชา ทำให้เครื่องหมายนี้แยกคำอ่านได้อีกแบบ คือ “ชา คุมะ”   หรือ อีกความหมายคือ  “ชา  ยี่ห้อ คุมะ”   ชา ถือเป็นคำสามัญที่ใช้กันทั่วไปนายทะเบียนจะให้สละสิทธิ์คำว่า ชา หมายความว่าไม่ให้ถือสิทธิ์เพียงคนเดียวที่จะใช้คำนี้  คือ ใครๆ ก็สามารถใช้ได้

เมื่อ ชา คือ คำสามัญ คงเหลือเพียงคำว่า คุมะ จึงไปเหมือนหรือคล้ายกับผู้ที่จดทะเบียนเอาไว้แล้ว และสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนคือ ชา สินค้าเหมือนกันอีกด้วย จึงรับจดทะเบียนไม่ได้


คำสั่งนายทะเบียน กรณี เครื่องหมายการค้า CHAKUMA   “ชาคุมะ”  เพราะว่า

1.เครื่องหมายนี้ยังไม่สามารถรับจดทะเบียนได้ เว้นแต่ จะได้ดำเนินการ แสดงเจตนาว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ อักษรโรมันคำว่า CHA

2.เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น ซึ่งนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ท่านและผู้ขอจดทะเบียนรายอื่น แก้ไขข้อบกพร่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ

3.เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาตามมาตรา 29 แล้ว


จากตัวอย่างดังกล่าวหากตรวจเครื่องหมายการค้าด้วยคำว่า CHAKUMA   “ชาคุมะ”  แล้วไม่พบข้อมูลในระบบ อาจทำให้คิดได้ว่าชื่อไม่ซ้ำ ไม่มีชื่อนี้เคยยื่นจดทะเบียนไว้ทำให้ไม่มีในระบบ จึงตัดสินใจยื่นจดทะเบียนไปเลย

แต่การตรวจเครื่องหมายที่ถูกต้องนั้น หลังจากวิเคราะห์เบื้องต้นและไม่ขัดหลักกฎหมายตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 แล้ว ต้องเทียบสำเนียงเรียกขาน และวิเคราะห์ภาพรวมอีกครั้งก่อนจดทะเบียน

>> ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนได้  คลิกที่นี่

>> ลักษณะบ่งเฉพาะของ เครื่องหมายการค้า คืออะไร  คลิกที่นี่


Thai Trademark  ให้บริการด้าน จดเครื่องหมายการค้า  จดลิขสิทธิ์ ปรึกษา ตรวจสอบ

รับจดเครื่องหมายการค้า  บริการทั่วประเทศ 

ต้องการใบเสนอราคา info.ThaiTradeMark@Gmail.com

error: Content is protected !!