ผลงานลิขสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องนำมา จดลิขสิทธิ์ แต่จะได้รับประโยชน์หากแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อดีของการ จดลิขสิทธิ์ เพื่อป้องป้องผลงาน
* กรณีถูกขโมยภาพไปใช้ในงานอื่นกฎหมายเครื่องหมายการค้าอาจไม่สามารถเอาผิดได้ ต้องใช้กฎหมายลิขสิทธิ์และต้องมีเอกสารการจดลิขสิทธิ์ประกอบในการแจ้งความ
** จดลิขสิทธิ์ แล้วหลังจากยื่นแจ้งจะได้รับหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ภายใน 30-60 วัน ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองเร็วกว่าจดเครื่องหมายการค้า
*** และงานลิขสิทธิ์ เมื่อ จดลิขสิทธิ์ ไว้ที่ประเทศไทยแล้วจะคุ้มครองไปยังประเทศอื่นที่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีกันโดยอัตโนมัติ มากกว่า 166 ประเทศทั่วโลก
*** งานลิขสิทธิ์ คุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และเมื่อเสียชีวิตคุ้มครองต่อเนื่องไปอีก 50 ปี
Cr.ภาพจาก ผู้จัดการ
ต้องการจดลิขสิทธิ์ ติดต่อเรา ผ่านทาง Line
ต้องการใบเสนอราคา info.ThaiTradeMark@Gmail.com
เราให้บริการ จดเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ มากว่า 15 ปี
ผลเสียของการไม่สนใจจด “เครื่องหมายการค้า”
ประโยชน์เพิ่มเติมหากแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
1. เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินและการทำธุรกรรมต่างๆ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558
2. เป็นฐานข้อมูลลิขสิทธิ์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการสืบหาเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3.เป็นหลักฐานเบื้องต้นแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสิทธิ์ที่แท้จริงต่อไป
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยประเภทงานต่างๆ ดังนี้
- งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
- งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
- งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศหรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
- งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
- งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสที่บันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก เป็นต้น
- งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
- งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเสียงทั้งนี้ ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุ หรือการแพร่เสียงหรือภาพทางสถานีโทรทัศน์
- งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
สิ่งที่ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไม่ได้
1.ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
2.ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
3.รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
4.ระเบียบข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
5.คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
6.คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตามข้อ 2-5 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานใดของรัฐหรือของท้องถิ่นที่จัดทำขึ้น
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
การแจ้งข้อมูลจดลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เป็นการรับรองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นการจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าตนเองเป็นเจ้าของในงานลิขสิทธิ์ที่ได้