คำว่า เครื่องหมายการค้า ชาวบ้านทั่วไปคงจะไม่คุ้นเคยกันนัก แต่คำว่า ยี่ห้อ ตรา โลโก้ หรือแบรนด์ ชาวบ้านจะคุ้นเคยรู้จักและเรียกขานคำเหล่านี้มากกว่า
หากท่านสังเกตรอบตัวเราจะเห็นว่าชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้า นับตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอนล้วนแล้วแต่ต้องสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภค บริโภค ที่มีเครื่องหมายการค้า ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาปลุกที่ ปลุกให้เราตื่นนอนตรงเวลา สุขภัณฑ์ที่ใช้ทำธุระในห้องน้ำ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ แชมพู เครื่องแต่งกายทุกชิ้น อาหาร เครื่องดื่ม ล้วนแล้วแต่มีเครื่องหมายการค้าทั้งนั้น
เครื่องหมายการค้านาฬิกาปลุก เช่น ไซโก้ ซิติเซ่น เครื่องหมายการค้าของเครื่องสุขภัณฑ์ เช่น อเมริกันแสตนดาร์ด คอตโต้ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน เช่น คอลเกต ใกล้ชิด ไลอ้อน สบู่ เช่น ลักซ์ นกแก้ว แชมพู เช่น ซันซิล แพนทีน ที่เป็นอาหาร เช่น บะหมี่ มาม่า ไวไว ยำยำ ขนมปัง เช่น ฟาร์มเฮ้าส์ เอสแอนด์พี ยามาซากิ เครื่องดื่ม เช่น เป็ปซี่ โค้ก แฟนต้า สไปรท์ เป็นต้น
บทบาทของเครื่องหมายการค้าในเชิงพาณิชย์
3.1 เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า เครื่องหมายการค้าทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้า ดังนี้
3.1.1 เป็นสัญลักษณ์แทนตัวผู้ผลิตสินค้า
3.1.2 บอกแหล่งที่มาของสินค้า
3.1.3 แสดงคุณภาพของสินค้า
ผู้ซื้อสินค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าโดยจดจำเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้านั้นๆ ได้
3.2 รักษาสิทธิประโยชน์ของเจ้าของเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้า ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนี้
3.2.1 สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าของตน
3.2.2 สิทธิที่จะโอนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตนได้
3.2.3 สิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทนทางแพ่ง
3.2.4 สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา
3.3 คุ้มครองผู้บริโภคสินค้า เครื่องหมายการค้าแตกต่างกันย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ดังนี้
3.3.1 ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ถูกต้องไม่สับสนหลงผิด
3.3.2 เพิ่มโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าในการบริโภค
Thai Trademark ให้บริการด้าน จดเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ ปรึกษา ตรวจสอบ
รับจดเครื่องหมายการค้า บริการทั่วประเทศ
ต้องการใบเสนอราคา info.ThaiTradeMark@Gmail.com
ข้อมูล : ipat.or.th